ความรู้จากแพทย์ศรีพัฒน์

ลูกตาเทียมคืออะไร ถ้าหลุดแล้วยังสามารถใส่ตาปลอมได้หรือไม่



ผศ.นพ.ศักรินทร์ อัษญคุณ

จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเบ้าตาและตกแต่งรอบดวงตา ต้อกระจก

รหัสเอกสาร PI-IMC-296-R-00

อนุมัติวันที่ 24 ธันวาคม 2563


 

ลูกตาเทียมคืออะไร


        ลูกตาเทียมทำหน้าที่ในการชดเชยปริมาตรของลูกตาที่หายไปจากเบ้าตา ซึ่งมีหลายชนิด ทั้งแบบชนิดผิวเรียบ เช่น ลูก แก้ว พลาสติก ซิลิโคน และแบบชนิดที่มีรูพรุน เช่น กระดูกวัว ปะการัง หลังการผ่าตัด


เอาลูกตาออก ลูกตาเทียมจะถูกฝังอยู่ในเบ้าตา โดยมีเยื่อบุตาคลุมอยู่ด้านหน้า เมื่อแผลผ่าตัดหายสนิท โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ก็สามารถสวมตาปลอมครอบทับลงไปได้

 


ปัจจัยเสี่ยงแบบใด ที่ทำให้ลูกตาเทียมหลุด


ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ลูกตาเทียมโผล่หรือหลุดหลังการผ่าตัด อาจแบ่งได้ดังนี้

 


ปัจจัยก่อนการผ่าตัด


หากลูกตาเสียจากการติดเชื้อ หรือได้รับการบาดเจ็บที่รุนแรง มีความเสียหายของเนื้อเยื่อภายในเบ้าตามาก ย่อมส่งผลให้มีโอกาสเกิดภาวะลูกตาเทียมโผล่หรือหลุดหลังผ่าตัดมากขึ้น

 


ปัจจัยระหว่างผ่าตัด


เทคนิคของการผ่าตัด ชนิดของลูกตาเทียมที่ใช้ เช่น ลูกตาเทียมชนิดมีรูพรุน หรือการฝังหมุดยึดที่ลูกตาเทียม อาจทำให้มีโอกาสติดเชื้อและการเกิดลูกตาเทียมโผล่มากขึ้น

 


ปัจจัยหลังผ่าตัด


        การสมานของแผลผ่าตัดอาจไม่ดีหากผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้รับการฉายแสงหรือยาเคมีบำบัด หรือยังมีการติดเชื้อหลงเหลืออยู่บริเวณแผลผ่าตัด หากลูกตาเทียม


หลุดย่อมส่งผลให้มีปริมาตรในเบ้าตาลดลง การสวมตาปลอมสำเร็จรูปซึ่งมีลักษณะเป็นเปลือกบางๆ ด้านหน้านูนและด้านหลังเว้า อาจทำให้การเสริมปริมาตรในเบ้าตาไม่เพียงพอกับปริมาตรที่เสียไป รวมถึงช่อง


ว่างที่อยู่หลังตาปลอมมีขนาดใหญ่ จึงเป็นบริเวณที่สะสมของขี้ตาและน้ำตา กรณีนี้การทำตาปลอมเฉพาะบุคคลจะเป็นวิธีที่จะช่วยเสริมปริมาตรในเบ้าตาได้มากกว่า โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดฝังลูก


ตาเทียมใหม่ แต่หากทำตาปลอมเฉพาะบุคคลแล้วมีการเสริมปริมาตรมากเกินไป อาจทำให้ตาปลอมมีขนาดใหญ่มากจนร่องตาล่างรับน้ำหนักไม่ไหว หรือทำแล้วยังมีตาโหลดูผิดรูปมาก อาจต้องปรึกษาจักษุ


แพทย์เพื่อทำการผ่าตัดแก้ไขก่อนใส่ตาปลอม