ความรู้จากแพทย์ศรีพัฒน์

ตาบอดสี




อ.พญ.อทิตยา อภิวรรธกกุล

จักษุแพทย์

รหัสเอกสาร PI-IMC-249-R-01

อนุมัติวันที่ 12 ตุลาคม 2566


        ความสามารถในการมองเห็นของมนุษย์ มาจากเซลล์รับแสงในจอประสาทตา โดยประกอบไปด้วยเซลล์รับภาพสองชนิดหลักๆ ได้แก่ เซลล์ Rod และเซลล์ Cone โดยเซลล์ Rod จะทำหน้าที่ในการรับรู้ว่ามี

แสงหรือไม่มีแสง และเซลล์ Cone ทำหน้า ที่ในการรับรู้สี ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชนิดย่อย ได้แก่ เซลล์รับรู้สีแดง เขียว และสีน้ำเงิน หลังจากนั้นจะแปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณประสาทส่งให้สมองแปลผลต่อไป ดังนั้น

หากเกิดความผิดปกติกับเซลล์ Cone ไม่ว่าจะเกิดจากการขาดหายไป การไม่ทำงานของเซลล์ หรือทำงานผิดไปจากปกติ อาจทำให้บุคคลนั้นมีการรับรู้สีที่แตกต่างไปจากคนปกติ ซึ่งความรุนแรงของโรคจะแตก

ต่างกันออกไปในผู้ป่วยแต่ละราย



ภาวะตาบอดสี แบ่งได้ 2 กลุ่ม ดังนี้


        กลุ่มที่เป็นตั้งแต่กำเนิด (Congenital color vision defects) เป็นชนิดที่พบบ่อย เกิดจากความผิดปกติทางด้านพันธุกรรม มักพบความผิดปกติการบอดสี แดง-เขียว โดยพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง (พบใน

ผู้ชาย 5-8% ผู้หญิง 0.5 %)


       ลุ่มที่เป็นภายหลัง (Acquired color vision defects) เป็นชนิดที่พบน้อยกว่า มักเกิดจากความผิดปกติบริเวณจอประสาทตา (Retina) หรือขั้วประสาทตา (Optic nerve) เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น

โรคทางร่างกายเช่น โรคเบาหวาน, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (mulhple sclerosis), พาร์กินสัน อุบัติเหตุจากยาหรือสารพิษ เป็นต้น และมักพบการบอดสีน้ำเงิน-เหลือง


สาเหตุ

        ตาบอดสีพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และเป็นการบอดสีแดง-เขียวแทบทั้งหมด เนื่องจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างรงควัตถุรับสีชนิดสีแดงและสีเขียว (Red-pigment gene, Green-pigment

gene) โดยยีนนี้อยู่บนโครโมโซม X เมื่อยีนนี้มีความผิดปกติ ก็จะทำให้คนนั้นมีความสามารถในการรับรู้สีผิดไป ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์กับเพศ เนื่องจากผู้หญิงมีโครโมโซม X สองตัว ในขณะที่ผู้ชายมี

โครโมโซม X เพียงตัวเดียว ดังนั้น ผู้ชายจึงมีโอกาสเกิดภาวะตาบอดสีมากกว่าผู้หญิง


ภาพที่มองเห็นเป็นอย่างไร

        การมองเห็นของคนที่เป็นโรคตาบอดสี ส่วนใหญ่สามารถรับรู้สีได้ แต่แยกแยะสีที่มีความคล้ายกันได้น้อยลง เช่น คนที่ตาบอดสีแดง-เขียว จะแยกสีชมพูกับเหลืองได้ยาก แต่เมื่อเห็นสีแดงหรือสีเขียวก็จะ

สามารถแยกแยะได้ทันที หรือคนที่ตาบอดสีน้ำเงิน-เหลือง จะแยกสีน้ำเงินเข้มกับสีเขียวได้ยากกว่าปกติ ส่วนตาบอดสีที่เห็นเป็นภาพขาว-เทา-ดำนั้นพบได้น้อยมาก และมักมีปัญหาสายตาบกพร่องอื่นๆ ร่วมด้วย

ดังนั้น หากพบความผิดปกติในการแยกแยะและรับรู้สี หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคตาบอดสี ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง

 


ข้อมูลอ้างอิง     

ผศ.นพ.ณวัฒน์ วัฒนชัย . (พ.ศ.2554) . ตาบอดสี . ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. แหล่งข้อมูล :

https://w1.med.cmu.ac.th/eye/index.php?option=com_content&view=article&id=142:2013-06-04-06-56-47&catid=17&Itemid=394 . ค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 .

นวพรรษ บุญชาญ . (พ.ศ.2555) . ขอความเข้าใจให้คนตาบอดสี . เดลินิวส์ . แหล่งข้อมูล : https://www.dailynews.co.th/article/131078 . ค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563.