ความรู้จากแพทย์ศรีพัฒน์

อาหารและโพแทสเซียม


อ.นพ.ณัฐพล  เลาหเจริญยศ
อายุรแพทย์โรคไต
และนักกำหนดอาหาร
รหัสเอกสาร PI-IMC-426-Rev.00

อนุมัติวันที่ 31 พฤษภาคม 2567


โพแทสเซียม คืออะไร

         โพแทสเซียม เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมจะลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด  

ระดับโพแทสเซียมปกติในเลือด   3.5 – 5.0 mEq/L

ระดับโพแทสเซียมต่ำในเลือด     < 3.5 mEq/L  ซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว 

ระดับโพแทสเซียมสูงในเลือด      > 5.0 mEq/L  เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ


อาหารและโพแทสเซียมสำคัญอย่างไร

         ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังควรใส่ใจในการเลือกรับประทานผัก ผลไม้ ซึ่งเป็นกลุ่มอาหารหลักที่มีผลต่อแร่ธาตุโพแทสเซียมในเลือด การเลือกรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ จะช่วยลดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด และช่วยรักษาสภาวะน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ ลดภาวะบวมน้ำ รวมทั้งป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

ระดับโพแทสเซียมในอาหารชนิดต่างๆ

อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง (กลุ่มผักสีเข้ม) 

        ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง 


อาหารที่มีโพแทสเซียมปานกลาง 

        ได้แก่ สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู (ฝักอ่อน) พริกหวาน


อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ (กลุ่มผักสีซีด) 

        ได้แก่ ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว แฟง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา


รับประทานผัก-ผลไม้อย่างไรจึงเหมาะสม

        การจำกัดผัก-ผลไม้ขึ้นอยู่กับระดับโพแทสเซียมในเลือด ถ้าผลเลือดอยู่ในระดับปกติ ไม่จำเป็นต้องงดผัก ผลไม้ ควรเลือกรับประทานผักผลไม้หมุนเวียนได้ตามปกติ สีเข้ม-อ่อน สลับกันไป แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ ควรปรับการรับประทานอาหารผัก-ผลไม้ ดังนี้

รู้ไว้ใช่ว่า

-  หากนำผักมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มในน้ำแล้วเทน้ำทิ้ง จะสามารถลดโพแทสเซียมลงได้ แต่ข้อเสีย คือ วิตามินที่อยู่ในผักจะสูญเสียไปด้วย

-   ผู้ป่วยโรคไตที่มีเบาหวานร่วมด้วย ควรคำนึงถึงปริมาณของผลไม้ โดยกำหนดให้ไม่เกิน 2 ส่วน/วัน (2 จานรองกาแฟ) โดยรับประทานแยกมื้อกัน 


แหล่งข้อมูล

-    Nutrition in chronic Hemodialysis ,Textbook of Hemodialysis โดย รศ. ชวลิต รัตนกุล

-    กินอย่างไร เมื่อเป็นโรคไต โดย พ.อ.นพ.อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์,จันจิรา ประภากรณ์

-    โภชนบำบัดโรคไตระยะต่างๆ โดย ผศ. ดร.ชนิดา ปโชติการ


Call Center : 0-5393-6900-1 / คลินิกอายุรกรรม : 0-5393-6909-10
Line iD : @sriphat