ความรู้จากแพทย์ศรีพัฒน์

มีบุตรยากกับการรักษาในปัจจุบัน



พญ. ปองปวัน เชียรวิชัย

สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

รหัสเอกสาร PI-IMC-405-R-00

อนุมัติวันที่ 12 ตุลาคม 2566



ใครคือผู้มีบุตรยาก ?


       ใครๆ ก็มีโอกาสประสบปัญหานี้ได้ ปัญหาหลักในฝ่ายหญิง คือ อายุ เนื่องจากคุณภาพและจำนวนของไข่จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผู้หญิงอายุน้อยบางคนอาจมีคุณภาพของไข่แย่กว่าอายุได้เช่นกัน ส่วนปัญหาหลักของฝ่ายชาย คือ น้ำเชื้ออ่อน ซึ่งก็อาจพบในผู้ชายที่สุขภาพแข็งแรงได้ เพราะฉะนั้นภาวะมีบุตรยากจึงไม่สามารถทำนายได้จากลักษณะภายนอก โดยเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะมีบุตรยาก คือ คู่สมรสที่ยังไม่มีบุตรหลังจากมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ (2-ครั้งต่อสัปดาห์) มาแล้ว ปี หรือ เดือน ในรายที่ฝ่ายหญิงอายุมากกว่า 35 ปี


ถ้ามาตรวจ จะต้องตรวจอะไรบ้าง ?


       สาเหตุของภาวะมีบุตรยากมีมากมาย โดยสาเหตุที่พบบ่อย คือ


       1ภาวะน้ำเชื้ออสุจิอ่อนในฝ่ายชาย


       2) ท่อนำไข่ตันในฝ่ายหญิง (หมันหญิง) 


       3) ปัญหาของรังไข่ เช่น ภาวะไม่ตกไข่ หรือคุณภาพของไข่ไม่ดี


        ซึ่งทั้ง อย่างนี้ถือเป็น 80 -90% ของสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก ดังนั้น การตรวจภาวะมีบุตรยาก มักจะประกอบด้วยการตรวจภายใน อัลตราซาวน์ ตรวจดูกาารทำงานของรังไข่ และตรวจท่อนำไข่ในฝ่ายหญิงและตรวจน้ำเชื้ออสุจิในฝ่ายชาย



หากจะมาตรวจน้ำเชื้ออสุจิต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ?


       การตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้ออสุจิ (Semen analysis) สามารถทำได้หลังงดหลั่งน้ำเชื้อนาน 2-วัน โดยกระบวนการตรวจเริ่มจากการเก็บน้ำเชื้อออกมาด้วยตนเอง ใส่ลงในภาชนะสะอาดที่เตรียมไว้ หากไม่สะดวกเก็บที่โรงพยาบาล ก็สามารถเก็บมาจากที่บ้านได้แต่ต้องนำส่งถึงห้องปฏิบัติการภายใน ชั่วโมง หลังจากนั้นตัวอย่างน้ำเชื้อจะถูกวิเคราะห์ภายใต้กล้องจุลทรรศ์และตรวจเพิ่มเติมด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (CASA)



ปัจจุบันมีวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากอย่างไรบ้าง ?


       ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าทางด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากเองก็เจริญไปมากเช่นกัน ปัจจุบันการรักษาแบ่งได้เป็น ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้


       1) กลุ่มวิธีธรรมชาติ


       2) การฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก


       3) การทำเด็กหลอดแก้ว


       ในกลุ่มวิธีธรรมชาติ หลักการ คือ การกำหนดวันมีเพศสัมพันธ์ให้ใกล้เคียงกับการตกไข่ โดยวิธีนี้สามารถทำได้หลายแบบ เช่น ทานยากระตุ้นให้มีไข่โตแล้วนับวันเพื่อมีเพศสัมพันธ์ หรืออาจจะฉีดยากระตุ้นให้ตกไข่ในรายที่มีไข่โตแล้ว เพื่อกำหนดวันและเวลามีเพศสัมพันธ์ให้แม่นขึ้น


       ส่วนการฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก (Intrauterine insemination; IUI ) ใช้เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการปฏิสนธิแทนการมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติ เนื่อง จากน้ำเชื้อส่วนใหญ่จะไหลย้อนออกมาหรือตายในช่องคลอดภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ และเหลือรอดเข้าไปถึงฟองไข่เพียงนิดเดียว ดังนั้น ในรายที่น้ำเชื้ออ่อนเล็กน้อย การฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรง ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้ วิธีการ คือ ในวันที่ฝ่ายหญิงมีการตกไข่  ฝ่ายชายจะต้องมาเก็บน้ำเชื้อที่โรงพยาบาล จากนั้นน้ำเชื้อจะถูกนำไปปั่นล้างในน้ำยาเพื่อคัดเฉพาะตัวที่แข็งแรง แล้วนำไปฉีดเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิงโดยตรง ซึ่งการฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูกเป็นกระบวนการที่ไม่เจ็บ เป็นความรู้สึกคล้ายๆ กับการตรวจภายในประจำปีเท่านั่นเอง



เด็กหลอดแก้วคืออะไรมีวิธีการอย่างไรบ้าง ?


       เด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization, IVF) เป็นวิธีการที่ยุ่งยากกว่าทั้งสองวิธีข้างต้น และมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็มีอัตราการสำเร็จที่สูงกว่าด้วยเช่นกัน กระบวนการการทำเด็กหลอดแก้วประกอบด้วย การกระตุ้นไข่ในฝ่ายหญิงเพื่อให้ได้ไข่จำนวนมาก หลังจากไข่ได้ขนาดที่เหมาะสม ไข่ทั้งหมดจะถูกเก็บด้วยเข็มผ่านทางช่องคลอดออกมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ แล้วนำตัวอสุจิมาผสมโดยตรง หลังจากนั้นตัวอ่อนที่ได้ทั้งหมดก็จะถูกเลี้ยงในห้องปฏิบัติการนาน 3-วัน ก่อนที่จะย้ายกลับคืนสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง โดยตัวอ่อนที่เหลือสามารถแช่แข็งไว้เพื่อใช้ในการย้ายครั้งต่อๆ ไปได้



อิ๊กซี่ (ICSIและ ไอวีเอฟ (IVFต่างกันอย่างไร ?


       การทำเด็กหลอดแก้วทั้ง IVF และ ICSI มีกระบวนการที่เหมือนกันทุกอย่าง ต่างกันเพียงขั้นตอนการปฏิสนธิ คือ ใน IVF อสุจิจะทำการเจาะไข่และปฏิสนธิเองเหมือนที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ แต่ใน ICSI เจ้าหน้าที่จะใช้เข็มแก้วขนาดเล็กมาก ดูดน้ำเชื้อ ตัว แทงผ่านเปลือกเข้าไปในไข่โดยตรง เพื่อช่วยให้อสุจิผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้น ทั่วไปวิธี ICSI จะใช้ในรายที่น้ำเชื้อไม่แข็งแรงหรือมีปริมาณน้อยมาก เช่นในคนที่ทำหมันชายไปแล้ว หรือในรายที่ไข่มีความผิดปกติบางอย่าง เช่น ไข่ที่ผ่านการแช่แข็งมาก่อน หรือในผู้ที่เคยทำ  IVF มาก่อน แต่ไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น เป็นต้น



กลัวลูกผิดปกติ จะตรวจตัวอ่อนเลยได้ไหม ?


       สามารถทำได้ ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีที่เรียกว่าการตรวจตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (PGT, preimplantation genetic testing) โดยจะเป็นกระบวนการต่อเนื่องมาจากเด็กหลอดแก้ว คือ หลังจากที่ได้ตัวอ่อนแล้ว นักวิทยาศาสตร์ผู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะทำการเปิดเปลือกตัวอ่อนด้วยเลเซอร์และเก็บตัว อย่างเซลล์จากตัวอ่อนออกมาเพื่อนำไปตรวจโครโมโซม ซึ่งการตรวจนี้ทำให้ทราบว่าตัวอ่อนแต่ละตัวมีโครโมโซมเป็นอย่างไร ปกติหรือไม่ จึงสามารถหลีกเลี่ยงการย้ายตัวอ่อนที่ผิดปกติได้และอาจจะเพิ่มอัตราการสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วได้ด้วย อย่างไรก็ตามแนะนำให้ทำกระบวนการนี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น



ถ้ายังไม่พร้อมมีบุตรแต่กลัวว่าจะมีบุตรยากในอนาคตตอนที่อายุมาก สามารถฝากไข่ไว้ก่อนได้ไหม ?


       สามารถฝากไว้ได้ ในปัจจุบันเราทราบชัดเจนแล้วว่า คุณภาพและปริมาณของไข่ในผู้หญิงจะลดลงเรื่อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น เป็นเหตุให้ตั้งครรภ์ยาก มีโอกาสแท้งสูงขึ้น และทารกมีโครโมโซมผิดปกติมากขึ้น จึงมีผู้หญิงหลายคนที่ไม่ต้องการตั้งครรภ์ในช่วงอายุน้อย เนื่องจากภาระหน้าที่ และต้องการแช่ไข่คุณภาพดีเก็บไว้ใช้ในอนาคต อย่างไรก็ตามไข่บางส่วนจะได้รับผลกระทบจากกระบวนการแช่แข็งและกระบวน การละลาย ทำให้เสียหาย ดังนั้น การแช่แข็งไข่จึงจำเป็นต้องเก็บไว้ในปริมาณที่มากเพียงพอจึงจะได้ผลลัพท์ที่ดี กระบวนการเก็บฝากไข่เหมือนกับกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วทั้งหมด มีการฉีดยากระตุ้นไข่ และเก็บไข่เหมือนกัน เพียงแต่จะไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นก่อนนำไปแช่แข็งเท่านั้นเอง



Reference

1 Practice Committee of American Society for Reproductive, M., 2013Definitions of infertility and recurrent pregnancy lossa committee opinionFertilSteril 99, 63.

2 Practice Committee of the American Society for Reproductive, M., 2015Diagnostic evaluation of the infertile femalea committee opinionFertilSteril 103, e44-50.

3 Harper, J.C., Aittomaki, K., Borry, P., et al., on behalf of the European Society of Human, R., Embryology, European Society of Human, G., 2018Recent developments in genetics and medically assisted reproductionfrom research to clinical applicationsEur J Hum Genet 26, 12-33.

4. Practice Committees of American Society for Reproductive, M., Society for Assisted Reproductive, T., 2013Mature oocyte cryopreservationa guidelineFertilSteril 99, 37-43.



สามารถติดตามช่องทางเพิ่มเติมได้ที่

• Call center : 0-5393-6900-1

• LINE Official : https://lin.ee/h3Wxyp3
• Facebook : https://bit.ly/2Kid6X9
• Youtube : https://bit.ly/3anQsH6
• Twitter : https://bit.ly/3eACDJ2
• Instagram: https://bit.ly/2VnrTGo
• Blockdit : https://bit.ly/2VqvL9D
• Website: http://sriphat.med.cmu.ac.th

หรือเพิ่มเพื่อนใน LINE ด้วยคิวอาร์โค้ด