ความรู้จากแพทย์ศรีพัฒน์

การตรวจมะเร็งเต้านม




ผศ.นพ.กีรติ วัชราชันย์
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบศรีษะ คอและเต้านม
รหัสเอกสาร PI-IMC-197-R-00

อนุมัติวันที่ 27 สิงหาคม 2563



       โรคมะเร็งเต้านมนั้นถือว่ามีความสำคัญมากในผู้หญิง เนื่องจากมีอัตราผู้ป่วยด้วยโรคนี้จำนวนมาก และผู้หญิงทุกคนมีโอกาสในการเป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะผู้มีความเสี่ยงและมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนทั่วไป ได้แก่ มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม เช่น คุณแม่ พี่สาว น้องสาว มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน ก็จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าผู้หญิงทั่วไป และผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้น เนื่องจากอายุมากขึ้น


การตรวจมะเร็งเต้านม


สำหรับการตรวจมะเร็งเต้านม สามารถตรวจได้หลายรูปแบบ ดังนี้


1.  การตรวจเต้านมด้วยตนเอง


        การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง แนะนำสำหรับผู้หญิงที่อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจเช็คเต้านมด้วยตนเอง โดยการใช้นิ้วมือคลำบริเวณเต้านม ตำแหน่งที่คลำ คือ บริเวณหัวนม ตัวเต้านมทั้งหมด และควรคลำรักแร้ด้วยส่วนช่วงเวลาที่เหมาะสมในการคลำเต้านมด้วยตนเอง คือ นับจากประจำเดือนมาวันแรกไปอีกประมาณ 7 วัน จะเป็นช่วงที่ตรวจเต้านมดีที่สุด ไม่มีผลของฮอร์โมนมารบกวนการตรวจเต้านม


2.  การตรวจโดยแพทย์


                 3. การตรวจโดยทางรังสี เช่น เอ็กซเรย์เต้านม หรืออัลตร้าซาวด์


        การตรวจด้วยแพทย์และการส่งตรวจทางรังสี หากตรวจเต้านมด้วยตนเองและคลำเจอก้อน ควรรีบมาพบแพทย์ทันที สำหรับคนที่ไม่มีความผิดปกติเลย หากอายุ 35 ปีขึ้นไปก็ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คว่ามีก้อนที่เต้านมหรือไม่ และทำการส่งตรวจเอ็กซเรย์เต้านม หรือที่เรียกว่า Mammogram

 


มะเร็งเต้านม รู้ก่อนรักษาได้


       ในการมาตรวจเช็คภาวะเสี่ยงมะเร็งเต้านมที่โรงพยาบาล แพทย์จะทำการตรวจโดยคลำเต้านม และคลำต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ จากนั้นจะส่งตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม และเอ็กซเรย์เต้านม (Mammogram) หากพบความผิดปกติ และแพทย์สงสัยว่ามีความผิดปกติของก้อน จะใช้วิธีการนำเข็มเล็กๆ ดูดเซลล์ไปตรวจว่าเป็นเนื้อดีหรือเนื้อร้ายส่วนการรักษานั้นจะมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับผลการตรวจ อาจสังเกตอาการหรือต้องทำการผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการรักษาที่เหมาะสม


       สิ่งสำคัญที่สุด คือ หากตรวจพบหรือคลำเจอก้อน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรีบมาให้แพทย์ตรวจเช็คดูว่าก้อนนั้นเป็นอันตรายหรือไม่ อย่าปล่อยทิ้งไว้ อย่ากลัวการตรวจ อย่าอาย เพราะว่ามะเร็งเต้านม เป็นโรคที่รักษาได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก สามารถรักษาให้หาย ขาดได้



สามารถติดตามช่องทางเพิ่มเติมได้ที่

• Call center : 0-5393-6900-1

• LINE Official : https://lin.ee/h3Wxyp3
• Facebook : https://bit.ly/2Kid6X9
• Youtube : https://bit.ly/3anQsH6
• Twitter : https://bit.ly/3eACDJ2
• Instagram: https://bit.ly/2VnrTGo
• Blockdit : https://bit.ly/2VqvL9D
• Website: http://sriphat.med.cmu.ac.th

หรือเพิ่มเพื่อนใน LINE ด้วยคิวอาร์โค้ด