ความรู้จากแพทย์ศรีพัฒน์

การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone Mineral Density หรือ BMD)




นางสาวศิริภา ประยูร 

นักรังสีเทคนิค

รหัสเอกสาร PI-IMC-162-R-00

อนุมัติวันที่ 25 มิถุนายน 2563


       การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone Mineral Density หรือ BMD) ด้วยเครื่องตรวจ DEXA Scan (Dual Energy X-ray Absorptiometry Scan) เป็นเครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก โดยใช้ X-ray พลังงานต่ำ 2 พลังงานในการตรวจ  ผู้รับการตรวจจะได้รับปริมาณรังสีน้อย  ซึ่งปริมาณรังสีที่ได้รับในแต่ละครั้งของการตรวจจะน้อยกว่าการตรวจ X-ray ปอดปกติทั่วไป  โดยเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูง  และถูกกำหนดให้เป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน โดยองค์การอนามัยโลก (WHO)



การเตรียมตัวก่อนการตรวจ


- ผู้รับการตรวจควรแจ้งแพทย์หรือนักรังสีเทคนิค หากสงสัยว่าตั้งครรภ์ ซึ่งการตรวจนี้จะไม่ทำการตรวจในหญิงตั้งครรภ์


- ผู้รับการตรวจควรปรึกษาแพทย์ หากเคยได้รับการกลืนแร่หรือได้รับสารทึบแสง เพื่อทำ CT scan มาก่อน ซึ่งอาจจะต้องเลื่อนการตรวจออกไปประมาณ 2 สัปดาห์


- ในวันตรวจสามารถรับประทานอาหารและน้ำได้ปกติ



ขั้นตอนการตรวจ


- ผู้รับการตรวจเปลี่ยนเสื้อผ้า ถอดอุปกรณ์ที่เป็นโลหะออกจากร่างกาย และนอนลงบนเครื่องตรวจ


จะใช้เวลาในการตรวจประมาณ 10-15 นาที



ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจวัดความแน่นของมวลกระดูก


       -   ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป


       -   สตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงต่อการมีมวลกระดูกต่ำ เช่น น้ำหนักตัวน้อย ( มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 19 ) มีประวัติกระดูกหัก รับประทานยาบางชนิดที่ทำให้มวลกระดูกลดลง เป็นโรคหรือภาวะที่ทำให้มวลกระดูกลดลง


       - ผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่า 70 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงต่อการมีมวลกระดูกต่ำ เช่น น้ำหนักตัวน้อย ( มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 19) มีประวัติกระดูกหัก รับประทานยาบางชนิดที่ทำให้มวลกระดูกลดลง  เป็นโรคหรือภาวะที่ทำให้มวลกระดูกลดลง


       -   ผู้ที่มีประวัติกระดูกเปราะและหักง่าย


       -   ผู้ที่มีโรคหรือภาวะที่ทำให้มวลกระดูกลดลง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  ภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป เป็นต้น


       -   ผู้ที่รับประทาน ยา Corticosteroids (ยากลุ่มสเตียรอยด์ที่ใช้ลดอาการอักเสบ) เป็นเวลา 3 เดือนหรือมากกว่า


       -   ผู้ที่สูบบุหรี่


       -   ผู้ที่ติดเหล้า หรือดื่มหนัก (ดื่มวันละ 3 ครั้งขึ้นไป)


       -   ผู้ที่มีพ่อแม่หรือคนในครอบครัวมีประวัติสะโพกหัก


       -   ผู้ป่วยที่แพทย์จะเริ่มให้ยาเพื่อการรักษาภาวะกระดูกพรุน


       -   ผู้ป่วยที่แพทย์ต้องการติดตามผลการรักษา หลังจากให้ยาเพื่อรักษาภาวะกระดูกพรุน




สามารถติดตามช่องทางเพิ่มเติมได้ที่

• Call center : 0-5393-6900-1
• LINE Official : https://lin.ee/h3Wxyp3
• Facebook : https://bit.ly/2Kid6X9
• Youtube : https://bit.ly/3anQsH6
• Twitter : https://bit.ly/3eACDJ2
• Instagram: https://bit.ly/2VnrTGo
• Blockdit : https://bit.ly/2VqvL9D
• Website: http://sriphat.med.cmu.ac.th

หรือเพิ่มเพื่อนใน LINE ด้วยคิวอาร์โค้ด