ผศ.พญ.อัจฉรียา วิวัฒน์วงศ์วนา
จักษุแพทย์
รหัสเอกสาร PI-IMC-149-R-00
อนุมัติวันที่ 28 พฤษภาคม 2563
ภาวะตาขี้เกียจ คืออะไร
ภาวะตาขี้เกียจ คือ ภาวะที่ระบบการมองเห็นไม่เกิดพัฒนาอย่างเหมาะสมในวัยเด็ก อาจเกิดขึ้นในตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ภาวะตาขี้เกียจเป็นสาเหตุสำคัญของอาการตามัวทั่วโลก “ เด็ก 100 คน จะมีภาวะตาขี้เกียจ 1-5 คน “
สาเหตุของภาวะตาขี้เกียจ
1. สายตาผิดปกติ
2. ตาเขหรือตาเหล่
3. มีความผิดปกติของตา ทำให้บดบังการมองเห็น
การวินิจฉัยภาวะตาขี้เกียจ
จักษุแพทย์จะทำการตรวจวัดระดับการมองเห็นว่ามีความแตกต่างระหว่างตาทั้งสองข้างหรือไม่ วิธีการตรวจระดับการมองเห็นสำหรับเด็กในแต่ละช่วงอายุมีความแตกต่างกันไป ในเด็กเล็กจะใช้วิธีปิดตาทีละข้างและสังเกตการมองตามวัตถุ สำหรับเด็กที่เริ่มรู้จักรูปภาพจะใช้ชาร์ทรูปภาพ และเด็กโตจะใช้ชาร์ทตัวเลข
เมื่อวัดระดับการมองเห็นเสร็จแล้ว จักษุแพทย์จะทำการตรวจตาโดยละเอียด เพื่อหาความผิดปกติของลูกตาและอาจทำการหยอดยาขยายม่านตาเพื่อวัดสายตา หลังหยอดยาตาจะพร่ามัวประมาณ 4-6 ชั่วโมง
การรักษา
ภาวะตาขี้เกียจสามารถกระตุ้นได้โดยแก้ไขสาเหตุที่ทำให้การมองเห็นผิดปกติ ร่วมกับการบังคับให้ใช้ตาข้างที่การมองเห็นแย่กว่า โดยวิธี
1. ปิดตาข้างที่เห็นดีกว่า
2. ใช้ยาหยอดตาเพื่อคลายกล้ามเนื้อตาในตาข้างที่ดี
3. ใส่แว่นตาโดยใช้เลนส์ที่ทำให้มัวไว้หน้าตาข้างที่ดี
การรักษาภาวะตาขี้เกียจจำเป็นต้องทำในวัยเด็ก ก่อนอายุ 10 ปี ในขณะที่สมองยังสามารถถูกกระตุ้นได้ดี จักษุแพทย์อาจปรับเปลี่ยนวิธีปิดตาและจำนวนชั่วโมงที่ปิดตาแต่ละวันตามระดับการมองเห็นของผู้ป่วย ดังนั้น ควรตรวจติดตามผลอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด นอกจากนี้ครอบครัวป์นแรงผลักดันที่สำคัญในการช่วยให้การรักษาบรรลุผล
What is Amblyopia
Amblyopia or also know as the “ Lazy eye “ is when the visual system does not develop properly during childhood. It can occur in only one eye or both eyes and is an important cause of visual impairment world wide.
“ 1 to 5 in 100 children have amblyopia “
Causes of amblyopia
1. Refractive error
Near-sighted , far-sighted , astigmatism
2. Strabismus
The eyes point indifferent directions (turns in, out, up, down)
3. Occlusion of visual axis
Abnormality of the eye obstructing the center of vision
Diagnosis of amblyopia
Ophthalmologists will check vision to see if there is a difference between the two eyes.In a young pre-verbal child, the ophthalmologist may cover each eye independently and observe the movement and visual response of the uncovered eye.
A complete eye exam will be performed to look for abnormalities that may block the visual axis or center of vision.A refraction may be performed with the use pf pupil-dilating eye drops.The drops will cause blurry vision for 4-6 hours.
Amblyopia treatment
Amblyopia is corrected by treating the underlying cause of abnormal vision together with making the child use their weaker eye.Often a patch is placed over the child’s stronger eye.This must be done during the “critical period “ of brain plasticity. Often a patch is placed over the child]s stronger eye. Alternative to wearing a patch include using cycloplegic pupil-dilating) eye drops to relax the focusing power of the sound eye or wearing glasses with a lens to blur the good eye.
The treatment ie,number of hours of patching will be adjusted according to the improvement in the child’s vision. Treatment is best done before the age of 10 years, therefore it is important to follow up with your ophthalmologist regularly.In addition, family support and encouragement is as great of an importance for the success of treatment.
------------------------------------------------------------
สามารถติดตามช่องทางเพิ่มเติมได้ที่
• Call center : 0-5393-6900-1
• LINE Official : https://lin.ee/h3Wxyp3
• Facebook : https://bit.ly/2Kid6X9
• Youtube : https://bit.ly/3anQsH6
• Twitter : https://bit.ly/3eACDJ2
• Instagram: https://bit.ly/2VnrTGo
• Blockdit : https://bit.ly/2VqvL9D
• Website: http://sriphat.med.cmu.ac.th
หรือเพิ่มเพื่อนใน LINE ด้วยคิวอาร์โค้ด