ความรู้จากแพทย์ศรีพัฒน์

NCDs กลุ่มโรคไม่ติดต่อน่ารู้


อ.พญ.อนุธิดา เชาว์วิศิษฐ์เสรี

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

รหัสเอกสาร PI-IMC-072-R-00

อนุมัติวันที่ 25 กรกฎาคม 2562


         NCDs ย่อมาจากคำว่า Non-communicable diseases คือ กลุ่มของโรคที่ไม่สามารถติดต่อจากบุคคลหนึ่งสู่บุคคลหนึ่งได้ มักจะเป็นเรื้อรังและยาวนาน เช่น โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคลุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง เป็นต้น


         ความสำคัญของกลุ่มโรคนี้ คือ เป็นกลุ่มโรคที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทยคิดเป็น 74% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด (ข้อมูลสถิติจาก World organization – Noncomunicable Diseases Country Profile,2018)



โรคไม่ติดต่อที่สำคัญ (4 major NCDs)


โรคไม่ติดต่อที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ได้แก่


-      โรคหัวใจและหลอดเลือด (ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน)


-      โรคมะเร็ง


-      โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง (เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง)


-      โรคเบาหวาน


ซึ่งโรคเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคนไข้และครอบครัว ทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม




ความผิดปกติที่จะพบก่อนเป็น NCDs



         ก่อนที่จะเกิด โรคที่กล่าวมา มักมีเหตุและปัจจัยนำมาก่อน ประการ ได้แก่


-      ภาวะอ้วน


-      ไขมันในเลือดสูง


-      ความดันโลหิตสูง


-      น้ำตาลในเลือดสูง


หากพบเจอภาวะเหล่านี้แล้วแนะนำให้ดูแลรักษาตนเองทันทีก่อนที่จะมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา


          นอกจากการตรวจหาภาวะผิดปกติเหล่านี้เพื่อรักษาให้ทันท่วงทีแล้ว การป้องกันการเกิดภาวะผิดปกติเหล่านี้ก็สำคัญเช่นกัน ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการปรับพฤติกรรมสุขภาพ





พฤติกรรมทางสุขภาพสำคัญที่ส่งผลให้เกิด NCDs ได้แก่


-      การรับประทานอาหารบางชนิดมากเกินไป


-      การมีกิจกรรมทางกายที่น้อย


-      การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


-      การสูบบุหรี่


                  ดังนั้น การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าวจะสามารถลดการเกิดความผิดปกติก่อนเป็น NCDs และทำให้ลดความเสี่ยงต่อ NCDs ได้



คำแนะนำการปรับพฤติกรรมต่างๆ มีดังนี้


1.     รับประทานอาหารบางชนิดอย่างจำกัด ได้แก่


-      ไขมันทรานส์ ซึ่งมักพบในอาหารจำพวกขนมขบเคี้ยว ขนมที่มีส่วนประกอบของเนยเทียม ฟาสต์ฟู้ด แนะนำให้รับประทานในปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้


-      ไขมันอิ่มตัว พบได้ในไขมันจากสัตว์ น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว (ควรบริโภคน้อยกว่า 10%ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน)


-      น้ำตาลที่เติมเพิ่มลงไปในอาหารและเครื่องดื่ม (Added sugar) เช่น น้ำเชื่อมในขนม น้ำตาลที่เติมลงไปในกาแฟซึ่งแนะนำไม่ควรบริโภคน้ำตาลชนิดนี้เกิน 24 กรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับน้ำตาล ช้อนชาต่อวัน


-      โซเดียม แนะนำไม่ควรบริโภคโซเดียมเกิน 2,000-2,300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับเกลือ ช้อนชา ซึ่งโซเดียมมักมาพร้อมกับซอสและเครื่องปรุงรสต่างๆ อาหารสำเร็จรูป เนื้อแปรรูปต่างๆ เช่น ไส้กรอก โบโลน่า หมูยอ ดังนั้น แนะนำการใส่เครื่องปรุงรสอย่างเหมาะสมและหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว



2.     มีกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) ที่เพียงพอ


         แบบแผนของกิจกรรมทางกายที่สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรค NCDs ได้ คือ กิจกรรมทางกายแบบแอโรบิก ระดับความหนักปานกลาง รวมแล้วมากกว่า 150 นาที/สัปดาห์ หรือกิจกรรมทางกายแบบแอโรบิก ระดับความหนักมาก รวมแล้วมากกว่า 75 นาที/สัปดาห์ โดยทำอย่างน้อย วันต่อสัปดาห์ และควรแบ่งการทำกิจกรรมให้ทั่วทั้งสัปดาห์เพื่อลดการบาดเจ็บ อาจจะเพิ่มการออกกำลังแบบเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างน้อย วัน/สัปดาห์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพยิ่งขึ้น


        กิจกรรมทางกายแบบแอโรบิก (Aerobic activity) คือ กิจกรรมที่กล้ามเนื้อได้เคลื่อนไหวอย่างเป็นจังหวะและต่อเนื่องติดต่อกัน สามารถเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของหัวใจและปอดได้ เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง การปั่นจักรยาน การเต้นรำ การล้างรถ การกวาดพื้น การทำสวน เป็นต้น


        เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างชัดเจน การมีกิจกรรมทางกายชนิดแอโรบิกควรทำในระดับความหนักแบบปานกลางและหนักมาก (Moderate and vigorous intensity) วิธีการจะทำให้ทราบง่ายๆ ว่าขณะทำกิจกรรมต่างๆ นั้นถึงระดับความหนักที่เหมาะสมหรือไม่ คือ การทดลองพูดขณะทำกิจกรรม (talk test) หากพูดได้เป็นประโยคที่ไม่ยาวแล้วต้องเว้นหายใจ ถือว่าเป็นกิจกรรมที่มีความหนักระดับปานกลาง และหากพูดได้เป็นคำๆ แล้วต้องเว้นเพื่อหายใจ ถือว่าเป็นกิจกรรมที่มีความหนักระดับมาก



3.     ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือดื่มในปริมาณที่เหมาะสม


         หากไม่มีข้อห้ามการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แนะนำให้ผู้ชายดื่มน้อยกว่า ดื่มมาตรฐานต่อวัน และผู้หญิงน้อยกว่า ดื่มมาตรฐานต่อวัน ( ดื่มมาตรฐานโดยประมาณเท่ากับเบียร์ กระป๋อง, สุรา 1 เป๊ก และไวน์ 1 แก้ว)


ข้อห้ามการดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ การตั้งครรภ์ โรคตับ ผู้ที่ต้องรับประทานยาที่เสริมฤทธิ์กับแอลกอฮอล์



4.     ไม่สูบบุหรี่ หากสูบบุหรี่แนะนำให้เลิก



ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Facebook : SriphatMedicalCenter