ความรู้จากแพทย์ศรีพัฒน์

ร้อนนี้ทำอย่างไร ไม่ให้เป็น “ลมแดด” เคล็ดลับต้องรู้..สำหรับหน้าร้อน




อ.นพ.อดิศักดิ์  กิตติสาเรศ


อายุรกรรมสาขาประสาทวิทยา


รหัสเอกสาร PI-IMC-112-R-00

อนุมัติวันที่ 26 มีนาคม 2563


ลมแดด (Heat Stroke) เกิดขึ้นจากอะไร

       เกิดจากร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ เนื่องจากความร้อนที่มากเกินไป และเกิดการสูญเสียเหงื่อและสารน้ำไปอย่างมาก


ใครบ้างที่ต้องระวัง

        - ผู้สูงอายุ

        - เด็กเล็ก

        - นักกีฬา

        - ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง/ทหารเกณฑ์


อาการเป็นอย่างไร

         - อุณหภูมิสูง (40C)   

        - ตัวร้อน ผิวสีแดง แต่ไม่มีเหงื่อออก 

        - ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ 

        - อาเจียน

        - ซึมลง หมดสติ 

        - ม่านตาหดตัว


เทคนิคการป้องกัน

        - ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละ 8-10 แก้ว 

        - หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

        - อาบน้ำเพื่อคลายร้อน

        - สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี

        - ห้ามนั่งในรถที่ปิดกระจกและแอร์ โดยเฉพาะเด็กเล็ก 

        - จำกัดกิจกรรมที่ทำกลางแจ้ง


การดูแลเบื้องต้น

หากพบผู้ที่น่าสงสัยว่ามีภาวะลมแดดดังข้างต้น ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล และในระหว่างนั้นควรดูแลผู้ป่วยโดย


        1.  รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่อากาศร้อน นำเข้าไปที่ร่มหรือห้องแอร์ ถ้าไม่มีแอร์ให้เปิดพัดลมและหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท

        2.  ถ้าผู้ป่วยยังไม่หมดสติ ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเย็น แต่ไม่ต้องให้ยาลดไข้

        3.  พ่นละอองน้ำบนตัวผู้ป่วย และใช้พัดหรือพัดลมเป่า หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัวผู้ป่วย

        4.  ถ้าผู้ป่วยชักเกร็ง ให้เอาสิ่งกีดขวางรอบตัวผู้ป่วยที่อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายได้ออก


ถ้าผู้ป่วยหมดสติและอาเจียน ให้จับศีรษะผู้ป่วยหันไปด้านข้าง เพื่อลดโอกาสการสำลัก


ข้อมูลอัพเดตเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Call Center : 0-5393-6900-1
Line iD : @sriphat