ความรู้จากแพทย์ศรีพัฒน์

มารู้จักภาวะหัวใจล้มเหลวกันเถอะ





อ.นพ.ภาณุเมศ  ศรีสว่าง

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

รหัสเอกสาร PI-IMC-046-R-01

อนุมัติวันที่ 12 ตุลาคม 2566


รู้หรือไม่ ?

            1 ใน 5 ของประชากร จะมีการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวขึ้น ซึ่งเป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ


ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure)


         เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยต้องทำการรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป


1/2 ของผู้ที่ต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลมักจะเสียชีวิตภายใน 5 ปี 



อาการที่พบได้บ่อย 3 อาการ ซึ่งได้แก่


1. อาการหอบเหนื่อย หายใจไม่ออกขณะออกแรง นอนราบไม่ได้ หรือต้องตื่นกลางคืนเนื่องจากหายใจไม่ออก


2. อาการจากภาวะน้ำและเกลือแร่คั่ง เช่น ขาบวม น้ำคั่งในปอด ตับและม้ามโต มีน้ำในช่องท้อง น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเคลื่อนไหวร่างกายลำบาก


3. อ่อนเพลีย เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อลดลง ทำกิจวัตรประจำวันได้ลดลง


        1 ใน 4 มักจะไปพบแพทย์หลังจากที่เกิดอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นเวลามากกว่า 1 สัปดาห์ หรือบางรายอาจไม่มาพบแพทย์เลย


        ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตตัวเองและคนรอบข้าง หากพบอาการข้างต้นรีบปรึกษาแพทย์ โดยปัจจุบันมีการตรวจวินิฉัยที่แม่นยำและถูกต้องหลายวิธี เช่น การตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ ( Echocardiography ) ซึ่งเป็นการตรวจที่แสดงให้เห็นการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายที่ลดลง ช่วยให้สามารถวินิจฉัยและให้การรักษาได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ



ข้อมูลอัพเดตเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Call Center : 0-5393-6900-1
Line iD : @sriphat





Facebook : SriphatMedicalCenter