Knowledge

(Acupuncture)




พญ.ชนัดดา วงศ์เอกชูตระกูล

แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและแพทย์ฝังเข็ม

รหัสเอกสาร PI-IMC-010-R-00

อนุมัติวันที่ 22 มกราคม 2561


การฝังเข็ม (Acupuncture) คืออะไร


  การฝังเข็มเป็นศาสตร์หนึ่งในการรักษาโรคด้วยการใช้เข็มฝังตามจุดต่างๆ บนร่างกาย โดยใช้หลักการรักษาของแพทย์แผนจีน ทำให้ระบบลมปราณหมุนเวียนดีขึ้น และช่วยปรับสมดุลของร่างกาย มีงานวิจัยในปัจจุบันพบว่า การฝังเข็มทำให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทที่ช่วยระงับปวด ลดการอักเสบ และเพิ่มการไหลเวียนเลือดในบริเวณที่มีการอักเสบด้วย 


  ศาสตร์ของการฝังเข็มเพื่อรักษาโรคมีมานานนับ 4,000 กว่าปี จนปัจจุบันนี้การรักษาโรคด้วยการฝังเข็มได้เป็นที่ยอมรับจากวงการแพทย์ทั่วโลก และองค์การอนามัยโลกหรือ WHO (World Health Organization) ได้ประกาศรับรองผลการรักษาโรคด้วยวิธีนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2522



การฝังเข็มเจ็บหรือไม่


         การฝังเข็มเป็นการใช้เข็มขนาดเล็กมากประมาณ 0.2 มิลลิเมตร (เล็กกว่าเข็มฉีดยาทั่วไปประมาณ 4-6 เท่า จึงเจ็บน้อยกว่า)  ขณะที่เข็มผ่านผิวหนัง อาจจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อย หากผู้ป่วยคลายความกังวล ปล่อยตัวตามสบายระหว่างการฝังเข็ม จะทำให้เจ็บน้อยลง



เข็มที่ใช้ฝังเป็นอย่างไร



         เข็มที่ใช้มีขนาดเล็กและบางมาก เป็นเข็มตัน ปลายตัด ไม่มีสารหรือยาชนิดใดเคลือบอยู่ เข็มที่ใช้ที่คลินิกฝังเข็ม ศูนย์ศรีพัฒน์ฯ เป็นเข็มใหม่ ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่นำกลับมาใช้ซ้ำโดยเด็ดขาด



การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง


  องค์การอนามัยโลก (WHO) มีประกาศเกี่ยวกับ โรคที่รักษาด้วยการฝังเข็มแล้วได้ผลดี* มีหลักฐานชัดเจนจากงานวิจัยรองรับ ดังนี้


          อาการปวด เช่น ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดศอก ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดจากโรคข้อรูมาตอยด์ ปวดเคล็ดขัดยอก ปวดกระเพาะและลำไส้ ปวดประจำเดือน ปวดนิ่วในถุงน้ำดี ปวดไมเกรน ปวดศีรษะที่มีสาเหตุมาจากความเครียด หรือก่อนการมีประจำเดือน ปวดในระบบทางเดินปัสสาวะ ปวดเส้นประสาท ปวดเส้นประสาทบนใบหน้า ปวดหลังการผ่าตัด


        - โรคทั่วไป เช่น โรคอัมพฤกษ์อัมพาต และผลข้างเคียงจากป่วยด้วยโรคทางสมอง ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ เม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ ภูมิแพ้ หอบหืด อาการซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ แพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน


  นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มโรคอื่นๆ อีกมากมาย ที่รักษาหรือบรรเทาได้ด้วยการฝังเข็ม สามารถสอบถามแพทย์เพิ่มเติม ก่อนการรักษา
(*อ้างอิงจาก World Health Organization. Acupuncture: Review and Analysis of Reports on Controlled Clinical Trials. Geneva: World Health Organization; 2003.)




ผู้ป่วยกลุ่มไหนบ้างที่ไม่เหมาะต่อการฝังเข็ม


        1. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด หรือใช้ยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาวาร์ฟาริน (Warfarin)


        2. ผู้ป่วยที่ไม่เข้าใจการสื่อสาร ไม่สามารถให้ความร่วมมือระหว่างการฝังเข็มได้


        3. ผู้ป่วยที่กลัวเข็มมาก ไม่สามารถควบคุมตนเองได้


        4. ผู้ป่วยโรคที่จำเป็นต้องผ่าตัด หรือโรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รับการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน


        5. สตรีตั้งครรภ์ (หากต้องการฝังเข็ม จำเป็นต้องแจ้งแพทย์ก่อนฝังเข็ม)




ก่อนฝังเข็มควรเตรียมตัวอย่างไร


        1. ควรรับประทานอาหารมาก่อน ประมาณ 1-2 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานอาหารมากจนเกินไป


        2. ควรพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ ไม่อ่อนเพลีย


        3. ควรขับถ่ายให้เรียบร้อยก่อนการฝังเข็ม


        4. ควรปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด




ระหว่างฝังเข็มควรทำอย่างไร   

    

        1. แพทย์จะฝังเข็มคาไว้ประมาณ 20-30 นาที ผู้ป่วยควรผ่อนคลาย อาจหลับตาและหายใจเข้าออกช้าๆ ให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เพื่อช่วยทำให้จิตใจสงบระหว่างการรักษา


        2. ผู้ป่วยควรนอนนิ่งๆ ไม่ควรขยับแขนขา หรือบริเวณที่ฝังเข็มไว้ จะทำให้ปวดได้


       3. หากมีอาการผิดปกติหรือไม่สบายใด ๆ เกิดขึ้น เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หน้ามืด รู้สึกวิงเวียนศีรษะเหมือนจะเป็นลม ให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลทันที




หลังฝังเข็มควรทำอย่างไร


        1. สำรวจร่างกายบริเวณที่ฝังเข็ม หากมีความผิดปกติ  ให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลทันที


        2. ควรดื่มน้ำอุ่นหลังการฝังเข็ม 


        3. หลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายโดนลม เป็นเวลา 1 ชั่วโมงหลังการฝังเข็ม




การฝังเข็มแผนจีน  (Acupuncture)

การใช้เข็มคลายกล้ามเนื้อเฉพาะจุด 

(Trigger point release)

เน้นปรับสมดุลร่างกายโดยใช้หลักการของเส้นลมปราณตามหลักการแพทย์แผนจีน
ใช้หลักการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยใช้เข็มคลายปมกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดเฉพาะจุด ระบายของเสียในเซลล์กล้ามเนื้อ
ดำเนินการโดยแพทย์ฝังเข็ม
ดำเนินการโดยแพทย์แผนปัจจุบัน มักเป็นแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือศัลยแพทย์กระดูกและข้อ
เน้นปรับสมดุลร่างกาย จึงรักษาโรคได้ครอบคลุมทุกระบบ
รักษาเฉพาะอาการปวดตึงเฉพาะจุดเท่านั้น
จุดที่ฝังเข็ม อาจอยู่ห่างจากบริเวณที่มีอาการ เช่นปวดบ่าซ้ายอาจฝังเข็มที่ขาขวาเพื่อหมุนเวียนลมปราณไปที่บ่าซ้าย
ปวดตรงไหนใช้เข็มกระตุ้นตรงบริเวณที่เป็น
ใช้เข็ม 1-30 เล่มฝังตามส่วนต่างๆของร่างกาย
ขึ้นอยู่กับสภาพความเสียสมดุลของร่างกายผู้ป่วย

ใช้เข็ม 1 ถึง 3 เล่ม ต่อจุดที่มีอาการ
บางครั้งอาจมีการใช้ยาชาฉีดเฉพาะจุด ร่วมด้วย

มีอาการเจ็บน้อยมากเฉพาะช่วงที่เข็มผ่านผิวหนังเท่านั้น
อาจปวดตื้อๆตอนเข็มกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกระตุกก่อนคลายปมและอาจมีปวดระบมได้เล็กน้อยไม่เกิน 2-3 วัน


การเลือกใช้วิธีการฝังเข็มแบบไหน ขึ้นกับสภาพร่างกายผู้ป่วย บางครั้งแพทย์อาจเลือกใช้ทั้งสองวิธีผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดผลการรักษาที่ดีที่สุด


 “การฝังเข็ม ไม่ได้เน้นรักษาเฉพาะโรคใดโรคหนึ่ง แต่เน้นการปรับสมดุลร่างกายแบบองค์รวมเพื่อให้ร่างกายบำบัดรักษาตัวเองต่อไป แต่เน้นการปรับสมดุลร่างกายแบบองค์รวมเพื่อให้ร่างกายบำบัดรักษาตัวเองต่อไป โดยไม่ใช้ยาหรือสารเคมีใดๆ ร่วมในการฝังเข็ม จึงให้ผลการรักษาที่ค่อนข้างดี มีความปลอดภัย มีผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนน้อยมาก”



สอบถามเพิ่มเติมที่ คลินิกฝังเข็ม ศูนย์ศรีพัฒน์ ฯ หมายเลขโทรศัพท์ 053-936-962


22 มกราคม 2561


ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Call Center : 0-5393-6900-1
Line iD : @sriphat